บนพื้นที่สวนกว่า 55 ไร่ ของ นายพงษ์เวช เจริญผล เกษตรกรวัย 34 ปี ชาวจันทบุรี ที่ปลูกทั้งทุเรียน และมังคุด แม้ว่าภาพรวมฤดูกาลผลไม้ปีนี้ ราคาผลไม้จะอยู่ในระดับที่ดีมาก
อย่างทุเรียนหมอนทอง เกรดส่งออก รับซื้อถึงกิโลกรัม 180-200 บาท เพราะมีความต้องการจากทั้งในและต่างประเทศและปีนี้ผลผลิตบางส่วนเสียหายจากสภาพอากาศแปรปรวน
แต่ นายพงษ์เวช ก็เชื่อว่าอนาคตราคาอาจจะผันผวน จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับปัจจุบันผู้ที่กำหนดราคารับซื้อ คือ โรงคัดบรรจุ หรือ ล้ง เน้นส่งออกไปยังประเทศจีน
พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า “ฝนตกหนัก” ช่วงปลายเดือน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เลือกตั้ง 2566 : คืบหน้า "รัฐบาลก้าวไกล" เสียง ส.ว.เป็นไปในทิศทางที่ดี
นายพงษ์เวช จึงกังวลว่าถ้าอนาคต ล้ง ปฏิเสธการรับซื้อจะนำไปสู่การกดราคาตลาด จึงเสนอให้รัฐบาลใหม่ พิจารณาตั้งราคากลางซื้อขายทุเรียน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร
ขณะที่นายสุพจน์ ชูภาระ เกษตรกรในพื้นที่จันทบุรี บอกว่า รัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาแก้ไขภาคเกษตรกรทั้งระบบ ตั้งแต่วางแผนการผลิต เพาะปลูก และการตลาด พร้อมขอให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ ทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มที่ จริงใจในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ที่ใกล้ชิดกับชาวสวนมากที่สุด
ส่วน นายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย บอกอีกว่า ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ มาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย หรือ GAP ที่ออกให้สวนผลไม้ที่ผ่านมาตรฐานส่งออก และ มาตรฐาน GMP ที่ออกให้กับโรงคัดบรรจุ หรือ ล้งที่ส่งออก โดยทั้ง 2 มาตรฐานกำกับดูแลโดยกรมวิชาการเกษตร
ปัจจุบันกรมฯ ได้โอนย้ายมาตรฐาน GMP ให้บริษัทเอกชนเป็นผู้อนุมัติแทน ทำให้เกิดข้อกังขาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นธรรมและความโปร่งใส รวมถึงยังมีปัญหาการตรวจที่ล่าช้าในช่วงฤดูกาลผลไม้ จึงอยากให้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขเพื่อไม่เกิดปัญหาคอขวด